ทำอย่างไรจะลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อคุณภาพการศึกษาในช่วงระดับอุดมศึกษา


CHALLENGE DETAIL

 

ที่มาของโจทย์นโยบาย

นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในช่วงปีที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ปี พ.ศ.2563-2564) อาจถือว่าเป็น lost generation ของระบบการศึกษาของไทยและของโลก เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปิดมหาวิทยาลัยในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 และการเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาอย่างกะทันหัน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอน อาจารย์ และนักศึกษา ลดน้อยลงในช่วงดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาทักษะทางสังคมและคุณค่าจากประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมนอกชั้นเรียน และการเรียนแบบปฏิบัติการก็น้อยลง เมื่อเทียบกับการเรียนก่อนที่จะมีการแพร่ระบาด ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาในรุ่นดังกล่าวลดลง นักศึกษาที่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพลดลงจะมีความสามารถในการหารายได้ และมีฐานะที่ด้อยลงในระยะยาว รวมถึงมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

นอกจากนี้ สำหรับนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาก็ได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน ข้อมูลการศึกษาจาก OECD พบว่านักเรียนที่ได้รับการศึกษาลดลง 1 ใน 3 ของปีการศึกษา จะส่งผลกระทบให้รายได้ลดลงตลอดช่วงการทำงานรวม 2.6% รวมไปถึงการที่อาจทำให้เด็กต้องซ้ำชั้น และโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาลดลง

ด้วยเหตุนี้ มาตรการสำหรับการบรรเทาผลกระทบในระยะยาวและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 (corrective measures) ให้มีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและมีทักษะทางอาชีพอย่างเหมาะสม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

จุดประสงค์ของโจทย์นโยบาย

  1. เพื่อลดผลกระทบในระยะยาวหรือซ่อมเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่นักศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานหรือศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น และเป็นพลเมืองทีมีคุณภาพ หรือ
  2. เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาขั้นพื้นฐานลดลง และมีโอกาสในการเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำลง

กลุ่มเป้าหมายของโจทย์นโยบาย

  1. นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือหรือสถาบันชั้นสูงอื่นๆ เช่น ผู้ที่เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ
  2. นักเรียนซึ่งกำลังจะเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อนักศึกษาและนักเรียน

ดาวน์โหลดรายละเอียดของผลกระทบได้ที่นี่

ใครเข้าร่วมส่งข้อเสนอนโยบายได้บ้าง

บุคคลทั่วไป โดยอาจเข้าร่วมเป็นประเภทเดี่ยวหรือประเภทกลุ่มไม่เกิน 5 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้ง 2 ประเภทสามารถนำเสนอได้มากกว่า 1 ข้อเสนอนโยบาย

ขั้นตอนการเข้าร่วมส่งข้อเสนอนโยบาย

  1. คลิกที่ "ส่งข้อเสนอ" (มุมขวาบนของหน้านี้)
  2. กรอกแบบฟอร์มข้อมูลทีมส่งข้อเสนอ
  3. ตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ผู้สนใจจัดทำ
  4. แนบไฟล์รายละเอียดของข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
    • เอกสารรายละเอียดข้อเสนอในรูปแบบ word หรือ pdf
    • เอกสารนำเสนอ (Pitching Deck) สำหรับนำเสนอคณะกรรมการในรูปแบบ pdf
  5. คลิกที่ "ส่งข้อเสนอ"

ข้อเสนอนโยบายที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. Relevant: ระบุกลุ่มเป้าหมายของนโยบาย วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดระยะยาวได้
  2. Innovative: แนวทางนโยบายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับมาตรการปัจจุบัน และสามารถอธิบายกลไก, ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสนับสนุนแนวทางนโยบายได้
  3. High Impact: มีโอกาสในการสร้างผลกระทบสูง (High Potential)
  4. Scalable: สามารถขยายผลกระทบในวงกว้าง (อย่างน้อยระดับจังหวัด) และสามารถพัฒนาเป็นนโยบายระดับประเทศได้ และสามารถปฏิบัติได้และให้ผลได้อย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
  5. Evidence-based: มีการนำข้อมูลเชิงประจักษ์ในเชิงปริมาณ และ/หรือเชิงคุณภาพมายืนยันความสำคัญของปัญหาที่ระบุและยืนยันแนวทางนโยบายอย่างชัดเจนและเหมาะสม

หมดเขตรับข้อเสนอ

31 สิงหาคม 2564

โอกาสและเงินรางวัล

  • คำแนะนำและความช่วยเหลือในการการพัฒนาและผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ
  • โอกาสในการเข้าร่วมเครือข่ายนักออกแบบนโยบาย
  • เงินรางวัลจำนวนดังนี้ (ตามประเภทและการตัดสินของคณะกรรมการ)
    • 10,000 บาท สำหรับข้อเสนอประเภท Policy Idea
    • 150,000 บาท สำหรับข้อเสนอประเภท Concept Proved Policy
    • 350,000 บาท สำหรับข้อเสนอประเภท Complete Policy

 ดาวน์โหลด Guideline โจทย์นโยบาย 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Line: เพิ่มเพื่อน 

Facebook: PIP FOR THE BETTER FUTURE

TIMELINE

24 พฤษภาคม 2564

เปิดรับข้อเสนอนโยบายผ่านทางเว็บไซต์

31 สิงหาคม 2564

ปิดรับข้อเสนอนโยบาย

15 ตุลาคม 2564

ประกาศข้อเสนอนโยบายที่ได้รับการคัดเลือก

ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2564

เริ่มดำเนินการพัฒนานโยบายที่ได้รับการคัดเลือก