NXPO Policy Innovation Platform for the Better Future


NXPO Policy Innovation Platform for the Better Future

โจทย์ท้าทาย : พลิกวิกฤตโควิด-19 เป็นโอกาสทองของประเทศไทย

 

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบในทุกมิติ ผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของไทย ที่ไม่เพียงสร้างผลกระทบอันรวดเร็วและฉับพลันภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ยังเรื้อรังก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบใหม่ที่ทั้งซับซ้อน และหลายหลาย ทวีความรุนแรงกระจายเป็นวงกว้างกว่าวิกฤตอื่นที่ประเทศเคยพบเจอ จากนโยบายรูปแบบดั้งเดิมที่ครั้งหนึ่งภาครัฐเคยใช้เป็นเครื่องมือ และถือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาของประเทศ ในวันนี้กลับไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่เคยคาดการณ์

เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สอวช. มีความพร้อมที่จะเสาะหาวิธีแก้ไข ซึ่งวิธีดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐ หรือใครเพียงคนเดียว จำเป็นต้องอาศัยการออกแบบนโยบายรูปแบบใหม่ที่สามารถควบรวมความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครอบคลุมในทุกมิติ ผ่านการระดมความคิดเห็นของผู้คนจากหลากหลายภาคส่วน (Crowdsourcing) ที่ไม่เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาเท่านั้น ยังหมายรวมถึง ภาคประชาชน ผู้ประสบวิกฤตนี้โดยตรงอีกด้วย

สอวช.จึงได้เปิดโอกาสในการดำเนินการระดมและรับฟังข้อเสนอด้านนโยบาย (Policy Idea) ของผู้คนจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายและนวัตกรรมทางนโยบายรูปแบบใหม่ โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับเงินสนับสนุนความคิด จำนวน 10,000 บาท พร้อมมีโอกาสได้รับการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานวิจัยนโยบายและผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบนโยบายของ สอวช. เพื่อเป็นหนึ่งในนโยบายภายใต้โครงการ Policy Innovation Platform for the Better Future ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนไปสู่การใช้งานจริงในอนาคต และชิงเงินสนับสนุนความคิด กว่า 1,000,000 บาท

โดยข้อเสนอด้านนโยบาย (Policy Idea) ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ข้อเสนอควรมีลักษณะเป็นมาตรการ นโยบาย หรือแนวทางปฏิบัติของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา หรือช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ COVID-19 เช่น ปัญหาการว่างงานในภาคแรงงานและนักศึกษาจบใหม่ในปัจจุบันและอนาคต เป็นต้น
  2. ข้อเสนอควรมีลักษณะเป็นมาตรการ นโยบาย หรือแนวทางปฏิบัติของภาครัฐในการพลิกวิกฤตการณ์ COVID-19 เป็นโอกาสในการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ เช่น โอกาสจากการลดลงของนักท่องเที่ยวในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวและวางแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต
  3. ข้อเสนอควรมีลักษณะเป็นนวัตกรรมทางด้านนโยบายใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ในข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ได้

ทุกความคิดเห็นและทุกข้อเสนอต่อโครงการ จะไม่ถูกตัดสินว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ ผิดหรือถูก โดย สอวช. พร้อมรับฟังทุกความคิดเห็นที่แตกต่าง ตลอดจนเสาะหาโอกาสพัฒนาและสนับสนุนความคิดเห็นของท่าน ในฐานะผู้มีจิตสาธารณะ พร้อมพัฒนาประเทศ และตั้งใจที่จะก้าวผ่านวิกฤตการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน

 

กติกาและเงื่อนไขการเข้าร่วมเสนอนโยบายในโครงการแพลตฟอร์มนวัตกรรมนโยบายเพื่ออนาคตไทย

 

  1. คุณสมบัติผู้สมัคร: บุคคลทั่วไป ประเภทเดี่ยวหรือประเภทกลุ่มไม่เกิน 5 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้ง 2 ประเภทสามารถนำเสนอได้มากกว่า 1 ข้อเสนอนโยบาย
  2. รูปแบบของข้อเสนอ: ข้อเสนอซึ่งประกอบด้วยข้อความหรือแผนภาพ ความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวหนังสือ 16
  3. ลักษณะไฟล์: เป็น Soft File จาก MS Word และไฟล์ PDF
  4. ระยะเวลาสิ้นสุดการเปิดรับ: ภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564
  5. ส่งข้อเสนอทาง: https://nxpo.or.th/pipbf/
  6. เงื่อนไขในการรับรางวัลและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอ:
    • ในกรณีผู้เสนอนโยบายประสงค์จะนำข้อเสนอไปพัฒนาเพื่อให้ข้อเสนอมีความสมบูรณ์ขึ้น ผู้เสนอนโยบายต้องยินยอมที่จะส่งข้อเสนอเข้าร่วมโครงการแพลตฟอร์มนวัตกรรมนโยบายเพื่ออนาคตไทยในระยะต่อไป ก่อนรับเงินรางวัล (ผู้เสนอมีสิทธิรับเงินรางวัลเมื่อให้ความยินยอม)
    • ในกรณีที่ผู้เสนอนโยบายไม่ประสงค์จะนำข้อเสนอไปพัฒนาเพื่อให้ข้อเสนอมีความสมบูรณ์ขึ้น ผู้เสนอนโยบายจะต้องยินยอมให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายสามารถนำข้อเสนอไปพัฒนาต่อเพื่อผลักดันให้เกิดการนำนโยบายไปปฏิบัติได้ ก่อนรับเงินรางวัล (ผู้เสนอมีสิทธิรับเงินรางวัลเมื่อให้ความยินยอม)
    • เงินรางวัลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละห้า ตามกฎหมาย ทป.4/2528
  7. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งโครงการหรือกระบวนการพิจารณาข้อเสนอไม่มีสิทธิในการส่งข้อเสนอนโยบายในโครงการนี้
  8. คำตัดสินของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายถือเป็นที่สิ้นสุด
  9. หากมีการร้องเรียนหรือพบว่าข้อเสนอนโยบายมีการลอกเลียนจากผลงานของผู้อื่น สอวช. ขอสงวนสิทธิในการให้เงินรางวัลแก่ผู้เสนอข้อเสนอนั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
นายนรชัย โทรศัพท์ 098-830-7326
นายภาสพงศ์ โทรศัพท์ 099-012-8777